วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันเรือยาวจังหวัดนครปฐม

การแข่งขันเรือยาวจังหวัดนครปฐม
ช่วง ฤดูเข้าพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน พระภิกษุอยู่ประจำวัดไม่เดินทางไปต่างถิ่น ชาวบ้านจึงเข้าวัด ฟังธรรม ถวายอาหาร และเครื่องใช้แด่พระภิกษุอย่างเต็มที่ไม่ขาดแคลน เมื่อถึงคราวออกพรรษา ทางวัดจะไม่จัดพิธีทำบุญตักบาตร และฟังธรรมตลอดไปอีก ๙ เดือน ชาวไทยเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าว พระภิกษุและวัดจะขาดแคลนเครื่องอัฐบริขาร เช่น ของกิน ของใช้ และอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเสนาสนะในวัด จึงประกอบพิธีถวายสิ่งของดังกล่าวนั้น โดยมีผ้าไตรจีวรเป็นหลัก เรียกว่า ถวายผ้ากฐินหรือทอดกฐิน ซึ่งมักกระทำกันทุกวัดทั่วประเทศไทย แต่วัดที่อยู่ริมแม่น้ำขณะนั้นเป็นฤดูน้ำหลากมีน้ำเต็มฝั่ง ชาวบ้านเห็นว่าเมื่อมีงานทอดกฐินได้ทำบุญกันแล้วก็ควรจะหาความสำราญกันบ้าง ประกอบกับพาหนะที่เดินทางมาวัดส่วนใหญ่เป็นเรือพาย ๒ คน ๓ คนมีจำนวนมากอยู่แล้ว จึงคิดเล่นกันให้เป็นการละเล่น เช่น นั่งในเรือร้องเพลงโต้ตอบระหว่างเรือผู้ชายกับเรือผู้หญิงเรียกว่า "เพลงเรือ" นอกจากนั้นก็นำเรือมาพายแข่งกัน ใครชนะได้รางวัลเป็นส้มเขียวหวาน ผ้าขาวม้า ฯลฯ เป็นที่สนุกสนานในตอนบ่าย ๆ หลังจากทอดกฐินเสร็จแล้ว จึงเป็นที่มาของการแข่งเรือแบบดั้งเดิม ซึ่งนิยมเรือติดเครื่องยนต์ เช่น เรือบื่อและเรือติดเครื่องหางยาว การใช้เรือพายแข่งกันมีน้อยลง แต่ใช้เรือติดเครื่องยนต์แข่งกัน ปัจจุบันไม่มีการแข่งเรือยนต์เพราะในแม่น้ำไม่มีเรือยนต์มากเหมือนแต่ก่อน เพราะการคมนาคมมีถนนมากมาย เรือจึงหมดบทบาทลง แต่กลับมีการฟื้นฟูการแข่งเรือยาว ๒๐ ฝีพาย ๕๐ ฝีพาย ดังแต่ก่อน มีรางวัลสูงและถ้วยเกียรติยศ ทำให้ประเพณีแข่งเรือยาวมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นกีฬาสากลอย่างหนึ่งก็อาจเป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น