วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแข่งเรือยาวจังหวัดเพชรบุรี

ประเพณีการแข่งขันเรือยาว จังหวัดเพชรบุรี
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดเพชรบุรี นิยมเล่นกันตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งในวันแข่งเรือยาวจะเป็นวันเดียวกับที่เจ้าภาพนำผ้ากฐินทอด ณ วัดนั้น การแข่งเรือจะมีขึ้นในเวลาประมาณเที่ยง แข่งขันเป็นคู่ ๆ เรื่อยไป เรือยาวลำใดชนะก็จะได้รางวัล สมัยก่อนรางวัลไม่กำหนดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นผ้าแถบ ผ้าแพรสีต่าง ๆ โดยจะใช้ผูกหัวเรือหรือมอบกับฝีพายหญิงที่นั่งพายคู่อยู่ส่วนหัวเรือ ซึ่งจะมี 4 คู่ 5 คู่ หรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นผ้าขาวม้า ซึ่งนิยมมอบให้กับฝีพายผู้ชาย ซึ่งอาจมี 8 คู่ 10 คู่ นั่งอยู่ส่วนท้ายเรือแม่น้ำเพชรบุรีแม่น้ำเพชรบุรี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ?น้ำเพชร? เป็นธรรมชาติมีต้นน้ำจากทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศสหภาพพม่า ไหลผ่านพื้นที่ในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด วัดท่าไชย อำเภอเมืองเพชรบุรี และลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่อำเภอ บ้านแหลมทางด้านทิศเหนือของจังหวัดน้ำเพชร มีความสำคัญในฐานะที่เป็นศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาฯลฯ ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นน้ำเสวยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 4 สืบมา จนกระทั่งยกเลิกไปใน พ.ศ.2465 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในอดีตกล่าวกันว่า น้ำเพชรมีรสอร่อย ใสสะอาด และจืดสนิท จึงถือได้ว่าน้ำเพชรเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรีอีกประการที่หนึ่งที่ชาวเพชรบุรีภาคภูมิใจการแข่งขันเรือยาวประเพณี สืบสานตำนานแม่น้ำเพชรบุรี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่เป็นผู้นำในการอนุรักษ์มีน้ำเพชรบุรี และเป็นการสืบสานประเพณีอันดีของจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษ์แม่น้ำเพชร หวงแหน และช่วยกันรักษาแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนในจังหวัดมาเป็นเวลาช้านาน ให้สมบูรณ์สืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน พร้อมกันนี้ยังเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดอีก ด้วย ซึ่งจะประกอบไปด้วยการแข่งเรือยาว ๓๐ ฝีพาย เรือยาว ๒๓ ฝีพาย เรือยาว ๗ ฝีพาย และเรือ ๕ ฝีพาย ซึ่งนอกจากจะมีเรือชื่อดังในจังหวัดเพชรบุรีแล้วยังมีเรือจากต่างจังหวัด เช่น จากราชบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการเข้าร่วมทำการแข่งขันด้วย และภายในงานจะได้จัดให้มีการแข่งขันโล้กระทะ เห่เรือบก เห่เรือองค์ เรือตลก และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อร่วมสืบสานการละเล่นที่ดีให้คงอยู่สืบไป
ที่มา กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเพชรบุรีคำขวัญของจังหวัดเพชรบุรี "เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น