วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันเรือยาวจังหวัดนครปฐม

การแข่งขันเรือยาวจังหวัดนครปฐม
ช่วง ฤดูเข้าพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน พระภิกษุอยู่ประจำวัดไม่เดินทางไปต่างถิ่น ชาวบ้านจึงเข้าวัด ฟังธรรม ถวายอาหาร และเครื่องใช้แด่พระภิกษุอย่างเต็มที่ไม่ขาดแคลน เมื่อถึงคราวออกพรรษา ทางวัดจะไม่จัดพิธีทำบุญตักบาตร และฟังธรรมตลอดไปอีก ๙ เดือน ชาวไทยเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าว พระภิกษุและวัดจะขาดแคลนเครื่องอัฐบริขาร เช่น ของกิน ของใช้ และอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเสนาสนะในวัด จึงประกอบพิธีถวายสิ่งของดังกล่าวนั้น โดยมีผ้าไตรจีวรเป็นหลัก เรียกว่า ถวายผ้ากฐินหรือทอดกฐิน ซึ่งมักกระทำกันทุกวัดทั่วประเทศไทย แต่วัดที่อยู่ริมแม่น้ำขณะนั้นเป็นฤดูน้ำหลากมีน้ำเต็มฝั่ง ชาวบ้านเห็นว่าเมื่อมีงานทอดกฐินได้ทำบุญกันแล้วก็ควรจะหาความสำราญกันบ้าง ประกอบกับพาหนะที่เดินทางมาวัดส่วนใหญ่เป็นเรือพาย ๒ คน ๓ คนมีจำนวนมากอยู่แล้ว จึงคิดเล่นกันให้เป็นการละเล่น เช่น นั่งในเรือร้องเพลงโต้ตอบระหว่างเรือผู้ชายกับเรือผู้หญิงเรียกว่า "เพลงเรือ" นอกจากนั้นก็นำเรือมาพายแข่งกัน ใครชนะได้รางวัลเป็นส้มเขียวหวาน ผ้าขาวม้า ฯลฯ เป็นที่สนุกสนานในตอนบ่าย ๆ หลังจากทอดกฐินเสร็จแล้ว จึงเป็นที่มาของการแข่งเรือแบบดั้งเดิม ซึ่งนิยมเรือติดเครื่องยนต์ เช่น เรือบื่อและเรือติดเครื่องหางยาว การใช้เรือพายแข่งกันมีน้อยลง แต่ใช้เรือติดเครื่องยนต์แข่งกัน ปัจจุบันไม่มีการแข่งเรือยนต์เพราะในแม่น้ำไม่มีเรือยนต์มากเหมือนแต่ก่อน เพราะการคมนาคมมีถนนมากมาย เรือจึงหมดบทบาทลง แต่กลับมีการฟื้นฟูการแข่งเรือยาว ๒๐ ฝีพาย ๕๐ ฝีพาย ดังแต่ก่อน มีรางวัลสูงและถ้วยเกียรติยศ ทำให้ประเพณีแข่งเรือยาวมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นกีฬาสากลอย่างหนึ่งก็อาจเป็นได้

การแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร

การแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จังหวัดพิจิตร ประจำปี 2547 เป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี เนื่องในวโรกาสมหามงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ ในปี 2547 นี้
ในปีนี้ มีเรือยาวจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 40 ลำ อีกทั้งยังมีเรือกระบวนพยุหยาตราจำลอง อัญเชิญถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อีกด้วย ผู้เข้าร่วมงานจะได้ชมการออกร้าน การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และสินค้าราคาถูก การแสดงมหรสพ การประกวดสินค้าเกษตร และการสุดยอดลิเก OTOP กำหนดให้มีพิธีเปิดงานในวันเสาร์ที่ 4 ก.ย. ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

การแข่งเรือยาวจังหวัดเพชรบุรี

ประเพณีการแข่งขันเรือยาว จังหวัดเพชรบุรี
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดเพชรบุรี นิยมเล่นกันตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งในวันแข่งเรือยาวจะเป็นวันเดียวกับที่เจ้าภาพนำผ้ากฐินทอด ณ วัดนั้น การแข่งเรือจะมีขึ้นในเวลาประมาณเที่ยง แข่งขันเป็นคู่ ๆ เรื่อยไป เรือยาวลำใดชนะก็จะได้รางวัล สมัยก่อนรางวัลไม่กำหนดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นผ้าแถบ ผ้าแพรสีต่าง ๆ โดยจะใช้ผูกหัวเรือหรือมอบกับฝีพายหญิงที่นั่งพายคู่อยู่ส่วนหัวเรือ ซึ่งจะมี 4 คู่ 5 คู่ หรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นผ้าขาวม้า ซึ่งนิยมมอบให้กับฝีพายผู้ชาย ซึ่งอาจมี 8 คู่ 10 คู่ นั่งอยู่ส่วนท้ายเรือแม่น้ำเพชรบุรีแม่น้ำเพชรบุรี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ?น้ำเพชร? เป็นธรรมชาติมีต้นน้ำจากทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศสหภาพพม่า ไหลผ่านพื้นที่ในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด วัดท่าไชย อำเภอเมืองเพชรบุรี และลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่อำเภอ บ้านแหลมทางด้านทิศเหนือของจังหวัดน้ำเพชร มีความสำคัญในฐานะที่เป็นศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาฯลฯ ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นน้ำเสวยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 4 สืบมา จนกระทั่งยกเลิกไปใน พ.ศ.2465 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในอดีตกล่าวกันว่า น้ำเพชรมีรสอร่อย ใสสะอาด และจืดสนิท จึงถือได้ว่าน้ำเพชรเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรีอีกประการที่หนึ่งที่ชาวเพชรบุรีภาคภูมิใจการแข่งขันเรือยาวประเพณี สืบสานตำนานแม่น้ำเพชรบุรี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีการแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่เป็นผู้นำในการอนุรักษ์มีน้ำเพชรบุรี และเป็นการสืบสานประเพณีอันดีของจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษ์แม่น้ำเพชร หวงแหน และช่วยกันรักษาแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนในจังหวัดมาเป็นเวลาช้านาน ให้สมบูรณ์สืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน พร้อมกันนี้ยังเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดอีก ด้วย ซึ่งจะประกอบไปด้วยการแข่งเรือยาว ๓๐ ฝีพาย เรือยาว ๒๓ ฝีพาย เรือยาว ๗ ฝีพาย และเรือ ๕ ฝีพาย ซึ่งนอกจากจะมีเรือชื่อดังในจังหวัดเพชรบุรีแล้วยังมีเรือจากต่างจังหวัด เช่น จากราชบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการเข้าร่วมทำการแข่งขันด้วย และภายในงานจะได้จัดให้มีการแข่งขันโล้กระทะ เห่เรือบก เห่เรือองค์ เรือตลก และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อร่วมสืบสานการละเล่นที่ดีให้คงอยู่สืบไป
ที่มา กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเพชรบุรีคำขวัญของจังหวัดเพชรบุรี "เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม"

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

การแข่งเรือยาว

การแข่งเรือยาว "ขึ้นโขนชิงธง"อำเภอหลังสวนวันขึ้น
15 ค่ำ เดือน11 ของปีนี้ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม เป็นวันสำคัญทางศาสนาคือ วันออกพรรษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศล เนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วในหลายๆท้องถิ่นก็มีงานเทศกาลประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นงานประจำปี ซึ่งอาจจะมีความคล้ายกันหรือแตกต่างกันไปบ้างตามคตินิยมของท้องถิ่นนั้นๆ เช่นที่ภาคใต้ มีงานใหญ่ๆให้เที่ยวชมกันหลายแห่งทีเดียวการแข่งเรือยาว อำเภอหลังสวน มีลักษณะ โดดเด่น แห่งเดียว ในประเทศไทย ตัดสิน โดยการ "ขึ้นโขนชิงธง" เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของ อำเภอหลังสวน ซึ่งมีมานานกว่า 100 ปี จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือประมาณ เดือนตุลาคม ของทุกปี โดยมีความเชื่อว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้เสด็จกลับมา จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมาสู่ เมืองสังกัสสะ ในชมพูทวีป พุทธศาสนิกชน จึงเดินทางไปรับเสด็จ เป็นจำนวนมาก ซึ่งการเดินทางที่สะดวก ในสมัยนั้นคือทางน้ำ จึงมีโอกาส ได้พบปะสังสรรค์ ซึ่งกันและกัน และต่อมาจึงเกิดเป็น ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้น การจัดงานประมาณ 5 วัน มีกิจกรรมที่สำคัญคือ การแห่เรือพระ ประกอบด้วยเรือพระ จากวัดต่างๆ ที่ได้รับการตกแต่ง อย่างสวยงาม และการแข่งขันเรือยาว ขึ้นโขนชิงธง ในแม่น้ำหลังสวน ชิงโล่พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ประเพณีแห่พระแข่งเรือ "ขึ้นโขนชิงธง" 27-31 ตุลาคม, อำเภอหลังสวน ภาพประกอบถ่ายโดย Armoo Chumphontour.com ครับรายละเอียดงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง ปีนี้เรื่องเล่า ชาวหลังสวน ท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร